บริการตรวจสอบงานก่อสร้าง

1.2.5 ตรวจสอบงานติดตั้งประตู-หน้าต่างอลูมิเนียม

ทำให้โครงการก่อสร้างของคุณ

มั่นใจได้ว่าสร้างตามหลักวิศวกรรม

การตรวจสอบงานติดตั้งประตู - หน้าต่างอลูมิเนียม ไม่ว่าจะเป็นประตู หน้าต่าง หรือผนังกระจกเฟรมอลูมิเนียม ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ต้องคำนึงถึงทั้งความแข็งแรง ความสวยงาม และคามสามารถในการการป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น ฝน ลม แดด หรือเสียงรบกวนจากภายนอก การตรวจสอบงานอลูมิเนียมโดยที่ปรึกษางานก่อสร้าง จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าการติดตั้งมีคุณภาพ ถูกต้องตามแบบ และสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย

WHY US

ทีมวิศวกรผู้มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการจัดการงานก่อสร้าง ให้คอนเซาท์ก่อสร้างได้ช่วยดูแลบ้านของคุณ.

1.2.5 ตรวจสอบงานติดตั้งประตู-หน้าต่างอลูมิเนียม

ตรวจสอบงานติดตั้งประตู

การตรวจสอบงานติดตั้งประตู – หน้าต่างอลูมิเนียม ไม่ว่าจะเป็นประตู หน้าต่าง หรือผนังกระจกเฟรมอลูมิเนียม ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ต้องคำนึงถึงทั้งความแข็งแรง ความสวยงาม และคามสามารถในการการป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น ฝน ลม แดด หรือเสียงรบกวนจากภายนอก การตรวจสอบงานอลูมิเนียมโดยที่ปรึกษางานก่อสร้าง จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าการติดตั้งมีคุณภาพ ถูกต้องตามแบบ และสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย

“งานอลูมิเนียมที่ดี ไม่ใช่แค่สวยงาม แต่ต้องแข็งแรง ปลอดภัย และป้องกันปัญหารั่วซึมได้อย่างสมบูรณ์แบบ”

มาตรฐาน และข้อกำหนดในการตรวจสอบงานติดตั้งประตู – หน้าต่างอลูมิเนียม

  1. ชุดอลูมิเนียม กระจก และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ต้องเป็นของใหม่ที่ไม่เคยใช้งานมาก่อน
  2. ขนาด หน้าตัด ความหนา ของวงกบเฟรม และกรอบบานใช้สี และขนาดตามที่ระบุในแบบ
  3. หากไม่มีระบุในแบบ สำหรับกระจกตัดแสงทั่วไป ควรใช้ความหนา 5 มม. ไม่หลอกตา ไม่ฝ้ามัว แต่ถ้าหากกว้างเกินกว่า 1.50 ม. ต้องใช้ความหนา 8 มม. ยกเว้นกระจกที่ติดตั้งในห้อง Sky light ที่มีแผ่นที่ติดตั้งอยู่ด้านบน ต้องใช้กระจกนิรภัยชนิดอัดซ้อน 2 ชั้น ( Laminated Glass) ความหนาไม่น้อยกว่า 8 มม. เพื่อความปลอดภัย หากเกิดการแตกร้าว
  4. ซิลิโคนใส ใช้ยี่ห้อ รุ่น ตามที่ระบุในแบบ หรือข้อตกลง
  5. PU ใช้ยี่ห้อ รุ่น ตามที่ระบุในแบบ หรือข้อตกลง
  6. แถบยาง (Gasket) ใช้ของทั่วไป ให้ใช้สีตามที่ระบุในแบบ และควรต้องสามารถกันรังสี UV ได้

แนวทางการตรวจสอบงานติดตั้งประตู – หน้าต่างอลูมิเนียม (ก่อนติดตั้ง)

  1. ก่อนการติดตั้ง ส่วนที่สัมผัสกับขอบวงกบ ต้องฉาบปูนเรียบ และทาสีรองพื้นให้เรียบร้อยก่อนการติดตั้ง
  2. หากมีบัวปูนใต้วงกบ (หน้าต่าง) แนะนำให้ตรวจสอบหลังจากที่ฉาบปูนเรียบร้อยแล้ว ต้องมีระยะต่ำกว่าใต้วงกบอลูมิเนียม 2 ซม. และต้องมีระยะ Slope เพื่อกันน้ำย้อนอีก 0.5 ซม.
  3. ชุดอลูมิเนียมริมนอกบ้าน หากไม่มีระเบียง กันสาด หรือสิ่งปกคลุมเพื่อป้องกันฝน ต้องมีบัวปูนกันน้ำที่เหนือ วงกบด้านบน และต้องเซาะร่องกันน้ำย้อน ขนาดกว้าง 1 ซม. ลึก 0.5 ซม. ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
  4. ในการประกอบวงกบเฟรม และบานอลูมิเนียมนั้น ให้ต่อได้ เฉพาะจุดหักมุมเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อความแข็งแรง และเพื่อการป้องกันการรั่วซึมผ่านทางรอยต่อ หากจำเป็นต้องมีรอยต่อมากกว่านี้ ผู้รับเหมาต้องปรึกษากับผู้ควบคุมงานโครงการก่อนติดตั้งทุกครั้ง
  5. การติดตั้งให้ใช้การยึดเจาะฝังพุกพลาสติกทุกๆ ระยะไม่เกิน 50 ซม. โดยรอบวงกบเฟรม เพื่อความแข็งแรง  และต้องใช้การขันให้แน่นเท่านั้น ห้ามใช้ค้อนตอกสกรูอย่างเด็ดขาด
  6. ช่องว่างระหว่างขอบปูนกับขอบวงกบ ต้องมีช่องว่างโดยรอบกว้าง 3-5 มม. หากไม่ได้ขนาดตามนี้ ต้องปรับแก้ขอบปูนก่อน จึงจะสามารถติดตั้งต่อได้
  7. ให้ทำการอุดร่องระหว่างขอบปูนกับขอบวงกบ ในข้อ 6 ด้วย PU ให้เต็มร่องทั้ง 2 ด้าน
  8. รอยต่อระหว่างกรอบบาน และกระจกด้านภายนอกที่ต้องสัมผัสฝน ต้องใช้ซิลิโคนใสในการอุดรอยต่อ สำหรับรอยต่อของอลูมิเนียม และหัวสกรูทั้งหมด ต้องทา และอุดด้วยซิลิโคนใสให้ทั่ว และเต็มร่อง ส่วนด้านภายใน ใช้การอัดยางให้แน่น และได้แนวเสมอกัน
  9. รอยต่อของวงกบต่างๆ ต้องแนบสนิทกัน และอุดรอยต่อให้แน่นโดยใช้ซิลิโคนใสทาหน้าตัดก่อนประกอบวงกบ
  10. ด้านบนของวงกบ ต้องยึดกับส่วนที่เป็นทับหลัง คสล. หรือโครงสร้าง เท่านั้น ห้ามยึดกับผนังอิฐ
  11. ผนังภายนอก (หากไม่ระบุในแบบ) ให้ติดตั้งชุดอลูมิเนียมชิดผนังริมในทั้งประตู และหน้าต่าง ส่วนผนังด้านในติดตั้งตามที่ระบุในแบบ
  12. ชุดบานเลื่อน ที่ติดตั้งอยู่ภายนอกทุกชุด ต้องใส่ฉากอลูมิเนียม ขนาด 1 ซม. (สีเดียวกับวงกบ) ที่รางด้านนอกพร้อมเจาะรูระบายน้ำฝน ขนาด 1/4 นิ้ว ทุกๆ ระยะ 20 ซม.
  13. อุปกรณ์กันชนประตูบานเลื่อนให้ติดตั้งที่มุมล่างรางเลื่อนเท่านั้น และให้บากปลายรางเลื่อนทั้ง 2 ด้าน ยาว 2 ซม.สำหรับระบายน้ำ 
  14. วงกบด้านล่างที่ติดตั้งบนพื้น ให้ติดตั้งบนพื้นผิววัสดุเช่น หิน หรือกระเบื้องได้เลย โดยไม่ต้องเว้นช่องว่างไว้ทั้งนี้เพื่อความสวยงาม และต่อเนื่องของวัสดุ
  15. การติดตั้งอุปกรณ์ล็อคประตู หากไม่ระบุในแบบ แนะนำให้ด้านที่อยู่ในบ้านเป็นแบบใช้มือบิดหรือหมุน ส่วนด้านนอกบ้านใช้แบบไขด้วยลูกกุญแจ
  16.  อุปกรณ์ประตูหน้าต่างทุกชิ้น เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ต้องสามารถใช้งานได้ตามปกติ ไม่หลวม ฝืด หรือใช้งานไม่สะดวก
  17. เมื่อติดตั้งชุดอลูมิเนียมเสร็จแล้ว ต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะสีเคลือบผิวอลูมิเนียม หากเกิดความเสียหายขึ้น อาจต้องเปลี่ยนชิ้นงานใหม่เนื่องจากไม่สามารถซ่อมผิวสีให้เหมือนกับเดิมได้
  18. ประตู-หน้าต่าง อลูมิเนียม บานเลื่อนสลับ ตำแหน่งของบานเลื่อนไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หากไม่ระบุในแบบ แนะนำให้บานเลื่อนบานขวาอยู่ในแนวรางด้านในบ้าน บานเลื่อนบานซ้ายอยู่ในรางด้านนอกบ้าน(มองจากด้านในบ้าน)
  19. การติดตั้งสัญญาณกันขโมย (ถ้ามี) ต้องประสานงานกับผู้ควบคุมงาน และชุดติดตั้งสัญญาณกันขโมย ควรใช้แบบฟอร์มส่งมอบพื้นที่ระหว่างทีมงาน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างทำงาน

แนวทางการตรวจสอบงานติดตั้งประตู – หน้าต่างอลูมิเนียม (ระหว่างติดตั้ง-หลังติดตั้งแล้ว)

  1. ขนาด หน้าตัด ความหนา ของวงกบเฟรม และกรอบบาน ต้องใช้ตามที่ระบุในแบบ
  2. ก่อนการอุดด้วยซิลิโคนใส ผู้ควบคุมงานจะตรวจสอบขนาดช่องว่างระหว่างผนังปูน และขอบวงกบเฟรมโดยรอบว่าได้ขนาดตามที่กำหนด และได้ทำความสะอาดรอยต่อโดยปราศจากฝุ่น คราบน้ำมัน สิ่งสกปรกต่างๆ แล้วหรือยัง หากยังมีข้อที่ผิดพลาดอยู่ ต้องแก้ไขให้เสร็จก่อน จึงจะสามารถดำเนินงานต่อไปได้
  3. วงกบเฟรม และกรอบบานทุกชุด ติดตั้งแล้วต้องมีความมั่นคงแข็งแรง ไม่โยกคลอน ได้ระดับ ดิ่ง ฉาก และมีขนาด ตรงตามที่ระบุในแบบ
  4. กระจกต้องใช้ชนิด และความหนาตามที่กำหนด และต้องไม่สั่นพลิ้ว โยกคลอน ไม่มีรอยแตกร้าว และรอยขูดขีด สำหรับกระจก Laminated ต้องติดตั้งด้านที่ตัดแสงขึ้นไว้ด้านบน เพื่อลดความร้อนที่จะเข้ามาในบ้าน
  5. ชุดอลูมิเนียม กระจก และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ต้องเป็นของใหม่ ไม่มีรอยบุบสลาย ถลอก หรือมีรอยเปื้อนสี และต้องใช้งานได้ดี
  6. การติดตั้งชุดที่อยู่ผนังด้านนอก ต้องติดตั้งชิดริมผนังด้านในเท่านั้น
  7. การอุดช่องว่างระหว่างขอบปูนกับขอบวงกบเฟรม ด้วย PU ต้องอุดเต็มทั้ง 2 ด้าน ไม่มีช่องว่าง
  8. การยาแนว การอุดร่องต่างๆ ต้องใช้วัสดุตามที่กำหนดเท่านั้น และต้องทำการอุดให้เต็มร่องทั้ง 2 ด้าน และต้องได้แนวตรง สม่ำเสมอกันตลอดทั้งแนว
  9. การอัดยางด้านในต้องแน่น และได้แนวเสมอกันตลอด และหากมีรอยต่อ ให้ต่อได้ที่ระดับที่สูงกว่ากึ่งกลางความสูงของบานเท่านั้น ห้ามต่อที่บานด้านล่าง หรือต่ำกว่ากึ่งกลางความสูงของบาน โดยให้ต่อได้เพียงครั้งเดียวต่อบาน ทั้งนี้เพื่อการป้องกันรั่วซึมของน้ำที่รอยต่อ

สรุป

การตรวจสอบงานอลูมิเนียมเป็นมากกว่าการตรวจสอบความเรียบร้อยของงานติดตั้ง แต่ยังต้องพิจารณาถึงความแข็งแรง แนวระนาบ และแนวดิ่งของบานประตู-หน้าต่าง รวมถึงการปิดสนิทของวงกบเฟรม และรอยต่อ เพื่อป้องกันปัญหารั่วซึม และเสียงรบกวน การมีที่ปรึกษางานก่อสร้างช่วยดูแลในขั้นตอนนี้ จะช่วยให้เจ้าของโครงการมั่นใจได้ว่างานอลูมิเนียมที่ติดตั้งมีคุณภาพสูง ปลอดภัย และสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นในระยะยาว

เราแนะนำคลิปเพิ่มเติม >>> ความสำคัญของ CM หรือคอนเซาท์ในงานก่อสร้าง ได้ที่เพจเฟซบุ๊ค วิศวะการันตี

หรือติดตามพวกเราได้ที่ : เพจ : วิศวะการันตี

อยากรู้จักเรา : เราเป็นใคร?

รูปตัวอย่างการตรวจภาคสนามของเรา