1.1.3 ตรวจสอบงานโครงสร้างบนดิน บริการตรวจงานพื้น-คาน-เสา

ถ้าโครงสร้างใต้ดินของอาคารเปรียบได้กับเท้าของมนุษย์ที่ช่วยพยุงน้ำหนักทั้งหมดของร่างกายแล้ว โครงสร้างบนดิน ซึ่งได้แก่ พื้น-คาน-เสา ก็คงเปรียบเสมือนโครงกระดูก ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงและรองรับน้ำหนักของส่วนต่างๆ ของอาคาร การตรวจสอบ และควบคุมงานในส่วนนี้โดย คอนเซาท์ หรือผู้ควบคุมงานก่อสร้างจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อรับประกันความแข็งแรงและความปลอดภัยของการ สร้างบ้าน หรือโครงการก่อสร้าง และทางวิศวกรุ๊ปก็มีบริการตรวจงานพื้น-คาน-เสา เป็นหนึ่งในบริการของเราด้วยเช่นกัน
3.10 การจัดทำแบบก่อสร้างจริง (Construction Drawing)

แบบสำหรับการก่อสร้าง (Construction Drawing) หรือที่มักเรียกกันว่า “แบบก่อสร้างจริง” คือ เอกสารสำคัญที่ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนที่ออกแบบไว้ แบบก่อสร้างจริงมีความละเอียดมากกว่าแบบขออนุญาตก่อสร้าง เพราะต้องมีข้อมูลครบถ้วนที่ใช้สำหรับการดำเนินงานในไซต์งาน ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม โครงสร้าง งานระบบ รายการวัสดุ ขนาด และมิติขององค์ประกอบต่างๆ รวมถึงการกำหนดมาตรฐานต่างๆ ที่ใช้ในการก่อสร้าง
3.6 ประสานงานแทนเจ้าของบ้านในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างกับหน่วยงานท้องถิ่นโดยผู้เชี่ยวชาญ

การให้ผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ ประสานงานแทนเจ้าของบ้านในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างกับหน่วยงานท้องถิ่น ช่วยให้กระบวนการเป็นไปอย่างราบรื่น และลดความยุ่งยากที่เจ้าของบ้านต้องเผชิญ ทั้งในเรื่องของการเตรียมเอกสาร การประสานงาน และการติดตามผล จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตก่อสร้างที่ถูกต้อง
3.5 การจัดทำรายการคำนวณโครงสร้างโดยวิศวกรมีใบประกอบวิชาชีพ

รายการคำนวณโครงสร้าง (Structural Calculation Report) เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบการออกแบบโครงสร้างอาคาร เพื่อใช้ในการตรวจสอบหลักการคำนวณ และทำให้มั่นใจว่าอาคารสามารถรับน้ำหนัก และแรงต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย
3.3 การศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง

การก่อสร้างไม่ใช่มีแค่การวางแผน และดำเนินงาน แต่ต้องเริ่มต้นจากการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง (Feasibility Study) ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้เจ้าของโครงการ นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถมองเห็นภาพรวม และประเมินโครงการได้อย่างรอบด้านก่อนลงมือปฏิบัติจริง
3.4 การจัดทำแบบขออนุญาตก่อสร้าง Concept Drawing

การก่อสร้างอาคารไม่สามารถเริ่มต้นได้โดยไม่มีแบบขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ช่วยให้โครงการเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย โครงสร้าง สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม การจัดทำแบบสำหรับยื่นขออนุญาตก่อสร้าง(Concept Drawings) เป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง และครบถ้วน เป็นขั้นตอนสำคัญที่เจ้าของบ้านควรต้องศึกษา และทำความเข้าใจ เพื่อให้โครงการได้รับอนุมัติและสามารถดำเนินการก่อสร้างได้โดยไม่เกิดปัญหาตามมา
คอนเซาท์ประจำงานก่อสร้างจำเป็นหรือไม่? : 3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาความเหมาะสม

บทความนี้จะกล่าวถึงการมีคอนเซาท์ประจำงานก่อสร้างในแต่ละโครงการนั้นมีความจำเป็นหรือไม่? กับ 3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาความเหมาะสม การมีคอนเซาท์ก่อสร้างมืออาชีพเป็นผู้ช่วยในการบริหารจัดการก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สามารถช่วยให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่น แต่การตัดสินใจว่าจะต้องมีคอนเซาท์ก่อสร้างอยู่ประจำหน้างานหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังที่นำเสนอในบทความนี้
5 ความแตกต่างระหว่าง คอนเซาท์มืออาชีพ vs วิศวกรฟรีแลนซ์

ทำไมการเลือกจ้างคอนเซาท์มืออาชีพมาช่วยคุณ ถึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่านี่คือข้อแนะนำในการเลือกผู้เชี่ยวชาญที่ตอบโจทย์งานก่อสร้างของคุณ
1.1.2 ตรวจสอบงานฐานราก ตอม่อ (โครงสร้างใต้ดิน)

มาตรฐาน และข้อกำหนดวัสดุ คอนกรีตฐานราก
ใช้คอนกรีตผสมเสร็จที่มีกำลังอัดประลัยตามที่ผู้ออกแบบกำหนด หรืออย่างน้อย 210 ksc. (สำหรับทรงกระบอก) เพื่อความแข็งแรง และปลอดภัย ระยะหุ้มที่ปลอดภัย
ระยะหุ้ม ไม่ต่ำกว่า 5 cm. หรือตามที่ผู้ออกแบบกำหนด เนื่องจากงานโครงสร้างใต้ดิน จะสัมผัสกับความชื้นในดินได้ตลอด
5 วิธีรับมือ (ผู้รับเหมาเบิกเงินเกิน)

5 วิธีรับมือการเบิกเงินล่วงหน้าของผู้รับเหมา(ผู้รับเหมาเบิกเงินเกิน) 1.สอบเหตุ ที่ต้องเบิกล่วงหน้า 2.เจ้าของบ้านเสนอทางเลือกการจัดหาวัสดุให้ผู้รับเหมาเอง 3.แบ่งงวดย่อยลงประเมินผลงานให้เล็กลงว่าพอจ่ายก่อนได้หรือไม่ตามผลงานที่ทำมาแล้ว 4. หากตัดสินใจจ่ายให้จริงๆ เจ้าของทำหนังสือบันทึกเพิ่มระบุข้อตกลงในสัญญาให้ชัดเจน 5.ควรตรวจสอบประวัติผู้รับเหมาอีกครั้ง หรือหากโครงการมีมูลค่าสูงควรจ้างทนายหรือนักสืบตรวจสอบประวัติ